วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

IOT คืออะไร

IOT คืออะไร
          Internet of Things หรือ IoT คือ สภาพแวดล้อมอันประกอบด้วยสรรพสิ่งที่สามารถสื่อสารและเชื่อมต่อกันได้ผ่านโพรโทคอลการสื่อสารทั้งแบบใช้สายและไร้สาย โดยสรรพสิ่งต่างๆ มีวิธีการระบุตัวตนได้ รับรู้บริบทของสภาพแวดล้อมได้ และมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบและทำงานร่วมกันได้ ความสามารถในการสื่อสารของสรรพสิ่งนี้จะนำไปสู่นวัตกรรมและบริการใหม่อีกมากมาย ตัวอย่างเช่น เซ็นเซอร์ภายในบ้านตรวจจับการเคลื่อนไหวของผู้อยู่อาศัย และส่งสัญญาณไปสั่งเปิด/ปิดสวิตซ์ไฟตามห้องต่างๆ ที่มีคนหรือไม่มีคนอยู่ อุปกรณ์วัดสัญญาณชีพของผู้ป่วย/ผู้สูงอายุและส่งข้อมูลไปยังบุคลากรทางการแพทย์ หรือส่งข้อความเรียกหน่วยกู้ชีพหรือรถฉุกเฉิน เป็นต้น
     นอกจากนี้ IoT จะเปลี่ยนรูปแบบและกระบวนการผลิตในภาคอุตสาหกรรมไปสู่ยุคใหม่ หรือที่เรียกว่า Industry 4.0 ที่จะอาศัยการเชื่อมต่อสื่อสารและทำงานร่วมกันระหว่างเครื่องจักร มนุษย์ และข้อมูล เพื่อเพิ่มอำนาจในการตัดสินใจที่รวดเร็วและมีความถูกต้องแม่นยำสูง โดยที่ข้อมูลทั้งหลายที่เก็บจากเซ็นเซอร์ที่ใช้ตรวจวัดตัวอุปกรณ์และสภาพแวดล้อมจะถูกนำมาวิเคราะห์ ให้ได้ผลลัพธ์เพื่อนำไปปรับปรุงกระบวนการผลิตได้อย่างทันที นอกจากการข้ามขีดจำกัดเรื่องเวลาแล้ว ระบบควบคุมหรือระบบวิเคราะห์ข้อมูล อาจไม่ได้อยู่ในที่เดียวกันกับเครื่องจักร แต่สามารถควบคุมสั่งการได้โดยไร้ขีดจำกัดเรื่องสถานที่
     เทคโนโลยีที่ทำให้ IoT เกิดขึ้นได้จริงและสร้างผลกระทบในวงกว้างได้ แบ่งออกเป็นสามกลุ่มได้แก่ 1) เทคโนโลยีที่ช่วยให้สรรพสิ่งรับรู้ข้อมูลในบริบทที่เกี่ยวข้อง เช่น เซ็นเซอร์ 2) เทคโนโลยีที่ช่วยให้สรรพสิ่่งมีความสามารถในการสื่อสาร เช่น ระบบสมองกลฝังตัว รวมถึงการสื่อสารแบบไร้สายที่ใช้พลังงานต่ำ อาทิ Zigbee, 6LowPAN, Low-power Bluetooth และ 3) เทคโนโลยีที่ช่วยให้สรรพสิ่งประมวลผลข้อมูลในบริบทของตน เช่น เทคโนโลยีการประมวลผลแบบคลาวด์ และเทคโนโลยีการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ หรือ Big Data Analytics
     ในด้านสถานะการพัฒนา เทคโนโลยีในกลุ่มเซ็นเซอร์ในปัจจุบันมีความแม่นยำสูง และราคาถูกมาก ศูนย์เทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (TMEC) มีความเชี่ยวชาญด้านการผลิตเซ็นเซอร์คุณภาพสูงสำหรับงานด้านการเกษตร และอุตสาหกรรม ส่วนเทคโนโลยีระบบสมองกลฝังตัวก็มีความสามารถสูงขึ้นในราคาที่ถูกลง แผงวงจรไมโครคอนโทรลเลอร์ขนาดเล็กที่มีความสามารถสูงเทียบเท่าคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันมีราคาตั้งแต่สามร้อยบาท อีกทั้งมีฮาร์ดแวร์แบบโอเพ่นซอร์สมากขึ้น ทำให้ต้นทุนการผลิตอุปกรณ์ IoTต่ำลงมาก นักพัฒนาชาวไทยสามารถนำฮาร์ดแวร์เปิดเหล่านี้ไปดัดแปลงและขายเป็นบอร์ดเฉพาะทาง หรือสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ของตนเองได้อย่างรวดเร็ว ส่วนเทคโนโลยีการประมวลผลแบบคลาวด์ และเทคโนโลยีการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ ในต่างประเทศผ่านจุดของการวิจัยมาสู่บริการเชิงพาณิชย์แล้ว ในประเทศไทย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) มีบริการคลาวด์แพลตฟอร์ม NETPIE สำหรับให้บริการเชื่อมต่อสื่อสารในรูปแบบ IoT
     ดังนั้นจึงเป็นโอกาสของผู้พัฒนาชาวไทยและประเทศไทยที่จะเข้ามามีบทบาท ไม่ใช่ในฐานะผู้ใช้เท่านั้น แต่ยังสามารถมีส่วนกำหนดทิศทาง สร้างนวัตกรรม บริการ ผลิตภัณฑ์หรือมาตรฐานใหม่ เพื่อก้าวขึ้นไปเป็นผู้นำด้าน IoT ของโลกได้
ยกตัวอย่างเช่น

1.      Smart home

ไม่ค่อยน่าแปลกใจเท่าไหร่ที่ Smart Home จะถูกจัดอยู่ในอันดับหนึ่ง สำหรับเดือนที่สำรวจนั้นพบว่ามีผู้คนค้นหาบนกูเกิลด้วยคำว่า “Smart Home” มากกว่า 60,000 คนเลยทีเดียว โดยในฐานข้อมูลของ IoT Analytics มีบริษัทรวมถึง startup ต่างๆ อยู่มากถึง 256 บริษัทที่ทำเรื่อง Smart Home อยู่ในตอนนี้ และมีการเปิดให้ใช้งานแอพพลิเคชันทางด้าน IoT อยู่ในปัจจุบัน  จำนวนเม็ดเงินที่มีการลงทุนไปใน Smart Home ของบริษัท Startup ในปัจจุบันมีนั้นเกิน 2.5 พันล้านเหรียญไปแล้ว นี่ยังไม่ได้นับรวมบริษัท startups ชื่อดังอย่างเช่น Nest หรือ AlertMe เข้าไป และก็ยังไม่ได้รวมบริษัทข้ามชาติดังๆ อย่างเช่น Philips, Haier หรือ Belkin เข้าไป
รูปจาก www.thalmic.com
รูปจาก www.thalmic.com

2.      Wearables

Wearables devices ยังเป็นประเด็นร้อนแรงที่ทุกคนพูดถึง และในไทยเองค่อนข้างเห็นได้ชัดเจนจากสินค้าหลายๆ ค่ายที่มาวางขายกันแล้ว ไม่ว่าจะเป็นจาก SumsungJawbone หรือ Fitbit แต่ยังมีที่ผู้บริโภคยังคงรอคอยอยู่คือ Apple smart watch ที่คาดว่าจะปล่อยออกมาในราวเดือนเมษายนปีนี้ ยังมีจากค่ายอื่นๆ อีกมากมายที่ทำออกมาได้อย่างน่าสนใจ เช่น Sony ที่มีทั้งนาฬิกา และสายรัดข้อมือ, Myo ที่สั่งงานด้วยการเคลื่อนไหว (Gesture control) หรือแม้แต่LookSee ที่เป็นกำไลข้อมือออกแบบมาอย่างสวยงาม จากทั้งหมดของบริษัท Startup ทางด้าน IoT สำหรับ Wearable แล้ว จนถึงตอนนี้ดูเหมือน Jawbone จะเป็นบริษัทที่ทุ่มเงินลงทุนไปมากที่สุด น่าจะมากกว่า 500 ล้านเหรียญไปแล้ว
รูปจาก www.districtoffuture.eu
รูปจาก www.districtoffuture.eu

3.      Smart City

Smart city สามารถเป็นสิ่งที่อธิบายได้อย่างกว้างขวาง ซึ่งรวมไปถึงตั้งแต่ระบบจัดการการจราจรไปจนถึงระบบจัดการน้ำ จัดการขยะ ระบบตรวจจับและเฝ้าระวังความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมในสังคมเมือง แต่สิ่งที่ถูดพูดถึงมากที่สุดคือพลังงานที่หลายๆ เมืองได้สัญญาว่าจะมาช่วยบรรเทาในการใช้ชีวิตในเมืองของทุกวันนี้

รูปจาก www.purdue.edu
รูปจาก www.purdue.edu

4.      Smart grids

Smart grid ไปเรื่องค่อนข้างเฉพาะเจาะจงอีกเรื่องหนึ่ง ในอนาคตนั้น smart grid จะเข้ามาใช้ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้พลังงานไฟฟ้าทั้งภาคธุรกิจและครัวเรือน ในรูปแบบที่จะเป็นอัตโนมัติมากขึ้นในการเพิ่มประสิทธิภาพ ความน่าเชื่อถือและเศรษฐศาสตร์ของพลังงานไฟฟ้าเอง ในเดือนที่สำรวจนั้นพบว่ามีมากกว่า 41,000 คนที่ค้นหาด้วยคำที่เกี่ยวข้องกับ Smart grid นี้ อย่างไรก็ตามสำหรับใน Twitter ยังไม่ค่อยจะมีพูดคนพูดถึงเรื่องนี้กันเท่าไหร่นัก (มีเพียง 100 คนต่อเดือนที่พูดถึงเรื่องนี้)
รูปจาก www.theextramilewithcharlie.com
รูปจาก www.theextramilewithcharlie.com

5.      Industrial internet

Industrial internet ซึ่งหมายถึง IoT สำหรับภาคอุตสาหกรรมและโรงงานการผลิต ขณะที่บริษัททางด้านวิจัยทางการตลาดเช่น Gartner หรือบริษัททางด้านเครือข่ายเช่น Cisco ได้มองว่า Industrial internet นี้เป็นอะไรที่มีโอกาสและความเป็นไปได้มากที่สุดแล้ว แต่มันก็ไม่ใช่สินค้าสำหรับผู้บริโภคทั่วไป (mass) อย่างที่ smart home หรือ wearable เป็น สำหรับใน Twitter แล้ว industrial internet ถูกพูดถึงมากที่สุดถึงประมาณ 1,700 ทวีตต่อเดือน
รูปจาก www.wired.com
รูปจาก www.wired.com

6.      Connected car

Connected car เป็นส่วนที่มีการปรับตัวช้ากว่าในรูปแบบอื่นๆ เนื่องจากวงรอบในการพัฒนาในวงการอุตสาหกรรมรถยนต์จะใช้เวลาประมาณ 2-4 ปี เรายังไม่ได้เห็นการพูดถึงในเรื่องนี้มากเท่าไหร่ในช่วงที่ผ่านมา ในส่วนของ BMW และ Ford ก็ยังไม่ได้ประกาศออกมาเป็นรูปร่างมากนัก ถึงแม้ทาง Google, Microsoft และ Apple ได้ประกาศเปิดตัวฟอร์มสำหรับ connected car ไปกันบ้างแล้ว
รูปจาก www.electronics-eetimes.com
รูปจาก www.electronics-eetimes.com

7.      Connected Health (Digital health/Telehealth/Telemedicine)

แนวคิดของระบบ connected health, Digital health หรือ smart medical ยังไม่ได้เป็นที่แพร่หลายนักในขณะนี้ แต่ก็มีหลายๆ ค่ายได้ปล่อยตัวระบบและอุปกรณ์มาให้เห็นกันบ้างแล้ว อย่างเช่น CellScope หรือ Swaive 
รูปจาก www.servicedesignmaster.com
รูปจาก www.servicedesignmaster.com

8.      Smart retail

สำหรับ Smart retail นั้นจะเข้ามาช่วยห้างร้านต่างๆ ได้เป็นอย่างดีในการเพิ่มประสบการณ์ที่ดีสำหรับลูกค้าในการซื้อสินค้า แต่ในตอนนี้ระบบนี้ยังเริ่มต้นได้ไม่นานนักและสินค้าเฉพาะกลุ่ม เร็วๆ นี้คงได้เห็นกันมากขึ้น
รูปจาก www.aimms.com
รูปจาก www.aimms.com

9.      Smart supply chain

ระบบนี้จะเป็นโซลูชั่นที่เข้ามาช่วยติดตามสินค้าที่กำลังขนส่งไปตามท้องถนน ซึ่งระบบนี้จริงๆ แล้วได้มีการใช้งานมาบ้างแล้ว แต่เมื่อพูดถึงในมุมมองของ Internet of Things ดูเหมือนว่าจะยังมีการพูดถึงอยู่ในวงจำกัด
รูปจาก www.ragusanews.com
รูปจาก www.ragusanews.com

10.   Smart farming

Smart farming บ่อยครั้งที่ถูกมองข้ามเมื่อพูดถึง Internet of Things เพราะเนื่องจากมันไม่ค่อยเป็นที่รับรู้หรือถูกนึกถึงเมื่อเทียบกับด้านสุขภาพ มือถือ หรืออุตสาหกรรม แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากการทำไร่นาสวนต่างๆ เป็นการปฏิบัติงานในพื้นที่ที่ค่อนข้างห่างไกล ฉะนั้นการนำ Internet of Things มาประยุกต์ใช้เพื่อทำการมอนิเตอร์จึงเป็นอะไรที่สามารถปฏิวัติวงการการทำเกษตรได้เลยทีเดียว
สำหรับประเทศไทยเองเราจะเห็นได้ชัดในส่วนของที่เป็น Wearable ที่มีหลายคนที่รักสุขภาพก็มีการนำมาใช้กันบ้างแล้ว ในส่วนของ Smart home นั้นพบว่ายังน้อยอยู่ ส่วนที่สำคัญคือเนื่องจากเมืองไทยเป็นเมืองเกษตรน่าจะได้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนี้ Smart Farm นี้เป็นอย่างมากถ้าหากมีการส่งเสริมและนำมาประยุกต์ใช้ เมื่อในไม่กี่ปีมานี้ทางภาครัฐก็ได้เริ่มให้การสนับสนุนและพักดันเป็นอย่างดี เช่น NECTEC